ซ่อมคอมด้วยตนเอง D.I.Y.Computer
การตรวจเช็คคอมพิวเตอร์เบื้องต้นด้วยตัวเอง ก่อนยกไปซ่อม
30 พฤษภาคม 2556
บทนำ
สวัสดีครับ
ผมตั้งใจเขียนบล็อคนี้ขึ้น ด้วยเห็นว่า ตอนนี้เกือบจะทุกบ้านมีคอมพิวเตอร์เป็นของตัวเองกันแล้ว และคอมพิวเตอร์มันก็เป็นอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคที่เสียได้พังได้ชนิดหนึ่ง และพอเสียขึ้นมาเราก็มักจะทำอะไรกันไม่ค่อยจะเป็น ยิ่งพวกคุณผู้หญิงทั้งหลาย ก็ต้องพาสังขารอันบอบบาง แบกคอมพิวเตอร์ไปซ่อมกัน ซึ่งจริง ๆ ก็คงไม่ได้เป็นปัญหาอะไร หากการจราจรในกรุงเทพมหานครของเรามันคล่องตัวเหมือนช่วงวันหยุดยาวๆ มิหนำซ้ำ บางทีแบกคอมพิวเตอร์ตัวเก่งของเราไปเจอร้านซ่อมที่ไม่มีฝีมือ ไม่ซื่อสัตย์ คอมเราเสียนิดเดียว พวกจะเปลี่ยนนู่นนี่ให้เราเสียตังค์เล่นซะอย่างนั้น แย่กว่านั้นบางร้านยังมีการแอบสับเปลี่ยนอะหลั่ยของเราซะอีก
ผมเอง แต่เดิมก็พอมีประสพการณ์ในการซ่อมคอมมาพอสมควร ก็เลยอยากจะเอาความรู้ที่พอมี มาแนะนำกัน เพื่อมีอะไรที่เราพอทำเองได้ เช็คเองได้ จะได้ทำกันเองซะ (ผมเองก็จะได้ไม่ลืมด้วย แก่แล้วนี่ครับ) ในบล็อคนี้ ผมจะใช้ชื่อตัวว่า "ลุงง๊องแง๊ง" ละกันนะครับ
ลองอ่านและทำความเข้าใจดูนะครับ ผมจะค่อย ๆ เขียนไปเรื่อย ๆ ชอบหรือไม่ชอบอย่างไร ติชมหรือแนะนำกันได้ (ห้ามด่า) หรืออยากที่จะทราบเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผมพอมีความรู้ (อย่าถามว่าหวยงวดหน้าออกอะไรนะ) ก็โพสถามไว้ก็แล้วกันครับ หรือจะสอบถามไปในหน้า website หรือผ่าน ลุงง๊องแง๊ง เฟสบุ๊ค ก็ยินดีครับ จะรีบมาตอบให้ ผมจะพยายามเขียนให้ครอบคลุมในส่วนที่เราสามารถทำเองได้โดยไม่ต้องพึงช่างให้ได้มากที่สุด
29 พฤษภาคม 2556
บทที่ 1 ว่าด้วยเรื่อง ไฟไม่เข้าเครื่อง
เมื่อคืนลุงเล่นคอมดึกไปหน่อย บังเอิญหาคลิปที่กำลังดัง ที่น้องเค้ามาเต้นเพลงมันแน่นอกน่ะ แหม ดันลบไปซะนี่ อดดูเลย
เช้าขึ้นมาเปิดคอม เอร้ย ไม่ติด ไฟไม่เข้าโว้ยทำไงดี ด้วยความรู้ที่พอมี ก็เลยลองไล่ ๆ เช็คดูตามประสา
ใครอยากรู้ตามลุงง๊องแง๊งมาเลย
1. ดูปลั๊กไฟก่อนเลย ใครแอบมาถอดของเราป่าวหว่า จับ ๆ ดึง ๆ ดูก็ปกติดีนี่ จอคอมก็มีไฟเข้า แสดงว่าปลั๊กไฟเราไม่เสียนี่นา
อันนี้ฝากไว้หน่อยแล้วกันนะครับ ปลั๊ก 3 ตา ให้เลือกเอาดี ๆ หน่อย อย่าเน้นถูกอย่างเดียว และอย่าเสียบอะไรเยอะแยะ อุปกรณ์ชิ้นไหนยังไม่ใช้ ก็ถอดออกซะบ้าง ส่วนใหญ่โต๊ะคอมของเราก็จะมี ตัวคอม (CASE) จอ เครื่องพิมพ์ ลำโพง แค่นั้นแหละ แต่บางคนก็โน๊ะ มีสแกนเนอร์ เครื่องพิมพ์ 2 ตัว ตัวชาร์ตโทรศัพท์มือถือ ตัวชาร์ตไอแพด นู่นนี่นั่นอีก จะเยอะไปไหน เพลาๆ หน่อยไฟมันจะช็อตเอา เดี๋ยวจะหาว่าลุงไม่เตือน
2. ดูสายไฟเข้าด้านหลังเครื่องว่าหลุดมั๊ย เมื่อคืนเผลอไปเตะหลุดหรือเปล่า หาเจอกันหรือเปล่าคุณผู้หญิง นี่ ๆ ลุงถ่ายรูปมาให้ดูด้วย ตรงที่มีปุ่มปิดเปิดน่ะ
หรือบางรุ่นโชคดีไปมีไฟเขียว ๆ บอกให้รู้ด้วย (รูปบน) ว่าไฟเข้านะ ก็เป็นอันว่าใกล้ความจริงแระ สงสัย POWER SUPPLY เจ๊งกระบ้งเป็นแน่แท้ เสียตังค์อีกแล้ว
*** ความรู้เรื่อง POWER SUPPLY ***
POWER SUPPLY คือ อุปกรณ์ที่รับไฟบ้าน 220 โวลต์ แล้วจ่ายออกไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ ปัจจุบัน POWER SUPPLY มีหลายรุ่น หลายยี่ห้อ ราคาตั้งแต่ไม่กี่ร้อยบาท ถึงหลายพันบาทก็มี พวกบ้าน ๆ อย่างเราเล่นหลักร้อยไปก่อนละกัน หรือว่าใครพอมีงบหน่อยก็หลักพันกว่าก็น่าจะเพียงพอ แต่มันต่างกันอย่างไรล่ะ หลักร้อย กะหลักพัน ลุงง๊องแง๊งขออธิบายง่าย ๆ ละกันนะจ๊ะ
POWER SUPPLY ที่ได้คุณภาพหน่อยก็ต้อง
1. จ่ายไฟเต็ม หรือวัตต์เต็มครับ แล้วจะดูยังไงล่ะ ก็ดูข้างกล่องครับ หรือสังเกตุง่าย ๆ พวกวัตต์เต็มจะหนัก (ช่วยเขย่า ๆ ก่อนที่จะซื้อ เผื่อมีใครเอาก้อนหินใส่เข้าไป) และราคาก็แพงหน่อย เกินพันแน่นอน อีกอย่างพวกนี้จะมีการรับประกัน 3 ปีขึ้นไป ข้อดีก็คือเวลาเอาอุปกรณ์ใส่เพิ่มเข้าไปเช่น HDD หลายตัวอะไรประมาณนี้ มันจะได้ไม่น็อคครับ
2. มีการระบายความร้อนที่ดี พัดลมจะใหญ่ ๆ หน่อย Power Supply ก็ร้อนเป็นนะครับ บางคนเปิดเช้าจรดเย็น ยิ่งพวกสิงห์นักบิท (BIT) ทั้งหลายยิ่งเปิดข้ามวันข้ามคืน
3. มีระบบป้องกันไฟกระชาก ไฟเกิน อันนี้ก็ดูข้างกล่องเอาครับ มีจริงตามข้างกล่องหรือเปล่าก็ต้องอาศัยบุญกรรมทำมาแต่ปางก่อน แต่น่าจะมีนะลุงคิดว่านะ
4. ต้องมีการจ่ายไฟที่สม่ำเสมอ ซึ่งเป็นมาตรฐานของราคาขนาดนี้อยู่แล้ว อันนี้สำคัญ มันจะช่วยให้อุปกรณ์ในเครื่องเรามีอายุยืนนาน
เอาละ ต่อๆ ทีนี้สรุปว่าสายไม่หลุด แต่ไฟไม่มาเอง สันนิฐานได้ว่า POWER SUPPLY ของเรากลับบ้านเก่าไปแระ แต่เพื่อให้แน่จัยต้องเช็ค POWER SUPPLY กันซะหน่อย (ขั้นตอนนี้คุณผู้หญิงคงไม่ต้องทำละครับ แต่เวลาเอาไปให้ช่างเปลียน ช่างเก่ง ๆ เขาจะเช็คก่อนว่าเสียจริงป่าว) ส่วนคุณผู้ชายอยากทำเองก็มาเลย มาลุยกัน
3. ถอด POWER SUPPLY มาเช็ค ก็ง่ายครับ เปิดฝาเคสออกมาเลย เสร็จแล้วจะเห็นสายไฟระโยงระยาง จุดที่จะต้องถอดก็คือ CONNECTOR ที่ต่อกับเมนบอร์ดครับ ตามรูปเลยครับ เอามือบีบตรงที่ปากกาชี้ (รูปซ้าย) แล้วค่อย ๆ ดึงขึ้นมาตรง ๆ ค่อย ๆ นะเพ่เดี๋ยวหลุดมาทั้งยวง อ่ะหลุดมาแระ ดังรูปขวา
ต่อไปก็นี่เลย คลิปหนีบกระดาษ เอามาดัด แล้วก็จิ้มเข้าไประหว่างสายไฟ 2 เส้น คือดำกับเขียว ต่อไฟเข้า POWER SUPPLY รอไว้เลยครับ รับรองไม่ดูด แล้วดูพัดลมที่ตัว POWER ฯ ถ้าพัดลมไม่หมุนก็เป็นที่แน่นอนว่าพังชัวร์ แต่ถ้าพัดลมเกิดหมุนขึ้นมาละก็ตัวใครตัวมัน !!!! เอร้ย ก็เป็นที่อื่นไม่ต้องตกใจไป
ตอนนี้ก็เป็นอันแน่นอนแล้วว่า ไอ้ POWER SUPPLY ของเครื่องลุงมันกลับบ้านเก่าไปแล้ว ต้องไปซื้อใหม่แล้ว แต่แหม รถก็ติด งานก็ยุ่ง จำได้ว่ามีของเก่าอยู่ตัวนึง ถอดไว้หลายเดือนแล้วเอามาใช้แทนก่อนละกัน ประหยัดเงิน หุหุ
ทีนี้ ในกรณีที่เราเช็ค POWER SUPPLY เรียบร้อยแล้วว่าใช้งานได้แหงม ๆ แต่พอประกอบใส่เข้าไปแล้ว พอเปิดเครื่องแล้วไฟยังไม่เข้าอีกละจะทำยังไงดี ไปต่อบทที่ 2 กันเลย
*** ความรู้เรื่อง POWER SUPPLY ***
POWER SUPPLY คือ อุปกรณ์ที่รับไฟบ้าน 220 โวลต์ แล้วจ่ายออกไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ ปัจจุบัน POWER SUPPLY มีหลายรุ่น หลายยี่ห้อ ราคาตั้งแต่ไม่กี่ร้อยบาท ถึงหลายพันบาทก็มี พวกบ้าน ๆ อย่างเราเล่นหลักร้อยไปก่อนละกัน หรือว่าใครพอมีงบหน่อยก็หลักพันกว่าก็น่าจะเพียงพอ แต่มันต่างกันอย่างไรล่ะ หลักร้อย กะหลักพัน ลุงง๊องแง๊งขออธิบายง่าย ๆ ละกันนะจ๊ะ
POWER SUPPLY ที่ได้คุณภาพหน่อยก็ต้อง
1. จ่ายไฟเต็ม หรือวัตต์เต็มครับ แล้วจะดูยังไงล่ะ ก็ดูข้างกล่องครับ หรือสังเกตุง่าย ๆ พวกวัตต์เต็มจะหนัก (ช่วยเขย่า ๆ ก่อนที่จะซื้อ เผื่อมีใครเอาก้อนหินใส่เข้าไป) และราคาก็แพงหน่อย เกินพันแน่นอน อีกอย่างพวกนี้จะมีการรับประกัน 3 ปีขึ้นไป ข้อดีก็คือเวลาเอาอุปกรณ์ใส่เพิ่มเข้าไปเช่น HDD หลายตัวอะไรประมาณนี้ มันจะได้ไม่น็อคครับ
2. มีการระบายความร้อนที่ดี พัดลมจะใหญ่ ๆ หน่อย Power Supply ก็ร้อนเป็นนะครับ บางคนเปิดเช้าจรดเย็น ยิ่งพวกสิงห์นักบิท (BIT) ทั้งหลายยิ่งเปิดข้ามวันข้ามคืน
3. มีระบบป้องกันไฟกระชาก ไฟเกิน อันนี้ก็ดูข้างกล่องเอาครับ มีจริงตามข้างกล่องหรือเปล่าก็ต้องอาศัยบุญกรรมทำมาแต่ปางก่อน แต่น่าจะมีนะลุงคิดว่านะ
4. ต้องมีการจ่ายไฟที่สม่ำเสมอ ซึ่งเป็นมาตรฐานของราคาขนาดนี้อยู่แล้ว อันนี้สำคัญ มันจะช่วยให้อุปกรณ์ในเครื่องเรามีอายุยืนนาน
เอาละ ต่อๆ ทีนี้สรุปว่าสายไม่หลุด แต่ไฟไม่มาเอง สันนิฐานได้ว่า POWER SUPPLY ของเรากลับบ้านเก่าไปแระ แต่เพื่อให้แน่จัยต้องเช็ค POWER SUPPLY กันซะหน่อย (ขั้นตอนนี้คุณผู้หญิงคงไม่ต้องทำละครับ แต่เวลาเอาไปให้ช่างเปลียน ช่างเก่ง ๆ เขาจะเช็คก่อนว่าเสียจริงป่าว) ส่วนคุณผู้ชายอยากทำเองก็มาเลย มาลุยกัน
3. ถอด POWER SUPPLY มาเช็ค ก็ง่ายครับ เปิดฝาเคสออกมาเลย เสร็จแล้วจะเห็นสายไฟระโยงระยาง จุดที่จะต้องถอดก็คือ CONNECTOR ที่ต่อกับเมนบอร์ดครับ ตามรูปเลยครับ เอามือบีบตรงที่ปากกาชี้ (รูปซ้าย) แล้วค่อย ๆ ดึงขึ้นมาตรง ๆ ค่อย ๆ นะเพ่เดี๋ยวหลุดมาทั้งยวง อ่ะหลุดมาแระ ดังรูปขวา
ตอนนี้ก็เป็นอันแน่นอนแล้วว่า ไอ้ POWER SUPPLY ของเครื่องลุงมันกลับบ้านเก่าไปแล้ว ต้องไปซื้อใหม่แล้ว แต่แหม รถก็ติด งานก็ยุ่ง จำได้ว่ามีของเก่าอยู่ตัวนึง ถอดไว้หลายเดือนแล้วเอามาใช้แทนก่อนละกัน ประหยัดเงิน หุหุ
ทีนี้ ในกรณีที่เราเช็ค POWER SUPPLY เรียบร้อยแล้วว่าใช้งานได้แหงม ๆ แต่พอประกอบใส่เข้าไปแล้ว พอเปิดเครื่องแล้วไฟยังไม่เข้าอีกละจะทำยังไงดี ไปต่อบทที่ 2 กันเลย
28 พฤษภาคม 2556
บทที่ 2 ว่าด้วยเรื่อง ไฟเข้า เปิดไม่ติด
กรณีที่ Power Supply ไม่เสีย แต่เวลาเปิดคอมแล้วเครื่องคอมยังไม่ยอมทำงาน ไฟยังไม่ยอมเข้าเครื่อง สิ่งที่ลุงมักจะเจอ ก็มีสาเหตุดังต่อไปนี้
1. ปุ่มสวิตซ์ปิดเปิดเสีย อันนี้มักจะเกิดกับผู้ที่นิยมความรุนแรงในการเปิดปิดคอม วิธีเช็คก็มีครับ คือต้องถอดสายไฟที่ต่อจากสวิทที่ Font Panel ที่เมนบอร์ด แล้วใช้ไขควงแตะแทน
Front Panel |
ถ้าไฟเข้าเปิดติดก็สวิทเสีย กรณีนี้ลุงง๊องแง๊งไม่ค่อยอยากให้รื้อเองครับ อุ้มไปหาช่างที่ไว้ใจได้ดีกว่า ถ้าเกิดเสียจริง ๆ ก็ให้ช่างเขาสลับเอาปุ่มรีเซ็ตมาใช้แทนก็ได้ครับ หรืออยากซ่อมก็แล้วแต่ครับ แต่ซ่อมมันมีค่าแรง หรือจะถือโอกาสเปลี่ยนเคสเลยก็ดี
2. ถ่าน BIOS หมด เมนบอร์ดบางตัวประหลาดมาก พอถ่าน BIOS หมดมันเปิดไม่ติดเฉยเลย พอใส่ถ่านก้อนใหม่เข้าไป ก็เปิดติด อันนี้ทำช่างหน้าแตกไปหลายราย แต่ลุงเคยเจอตั้งกะเริ่มซ่อมคอมใหม่ ๆ ตอนนี้เลยไม่ค่อยพลาด (แสดงว่าเคยพลาด) 555 บางคนงง เมนบอร์ดใช้ถ่านด้วยเหรอ อยู่ตรงไหน ลองเหล่ ๆ ดูในเครื่องน่ะครับ มันจะมีถ่านอยู่ก้อนนึง
รังถ่านส่วนใหญ่จะเป็นเหมือนสองรูปนี่แหละ เวลาถอดถ่าน ใครเป็นแบบรูปซ้าย ก็บีบตรงที่ปากกาชี้ครับมันจะเด้งออกมาเอง ส่วนใครเหมือนรูปกลาง ก็ค่อย ๆ ง้างเขี้ยวดำตรงปากกา ค่อย ๆ งัดนิดนึงมันก็จะหลุดมา ส่วนรูปขวาสุด ก็เป็นตัวอย่างถ่านเมนบอร์ดละครับ ก้อนนึงไม่แพง
3. เมนบอร์ดพัง อันนี้ก็ไม่ต้องทำไรหรอกครับ ส่งเคลมไปถ้ายังอยู่ในประกัน หรือหามือสองใส่ หรือจะอัพเกรดไปเลยก็แล้วแต่กำลังทรัพย์
27 พฤษภาคม 2556
บทที่ 3 ว่าด้วยเรื่อง ไฟเข้า เปิดติด แต่ไม่มีภาพ
เรื่องไฟเข้า เปิดติดแต่ไม่มีภาพ ดูเหมือนจะเป็นปัญหาที่เจอกันบ่อยที่สุด ทุกอย่างทำงานหมดแต่ไฉนเลยภาพมันไม่มีแฮะ และก็สาเหตุก็เยอะแยะไปหมด มาไล่ ๆ สรุปกันเบื้องต้นดีกว่า ว่าทำไมๆๆๆๆๆ
1. จอเสีย วิธีดูง่าย ๆ ก็คือ เมื่อเปิดไฟเข้าจอ มันจะต้องมีไฟสัญญาณ ซึ่งปกติจะเป็นสีเหลือง (เวลามีสัญญาณภาพมามันจะเป็นสีเขียวบ้าง สีฟ้าบ้างแล้วแต่) และที่สำคัญ มันจะมีภาพที่บอกประมาณว่า Check Video Cable หรือ Check Signal หรือ อะไรโผล่มาให้เห็นนอกจากความดำมืด นั่นแหละ จอไม่น่าจะเสีย (ลุงใช้คำว่าไม่น่าจะหมายความตามนั้นคืออาจจะเสียก็ได้ แต่น้อยมว๊ากกกก)
2. เสียบผิด อันนี้มักจะเกิดกับคุณผู้หญิงที่เพิ่งยกคอมไปซ่อม กลับมาเสียบสายจอผิดช่อง เพราะคอมบางตัวมีช่อง VGA ON BOARD ด้วย และก็มี VGA CARD แยกด้วย หน้าตาของด้านหลังคอมก็จะเป็นแบบนี้
จากรูปจะเห็นว่า มันมีช่องสีน้ำเงิน 2 ช่อง อันบนเป็น VGA ON BOARD ส่วน ด้านล่างจะเป็น VGA CARD โดยปกติในกรณีแบบนี้ อันบนจะถูกตัดการทำงานไปเลย หากเราไปเสียบ มันก็จะไม่มีภาพครับ
3. ความสกปรก (ซกมก) ล้อเล่นน่า ^___^ เขาเรียกว่าคราบอ๊อกไซด์ ที่มักจะเกิดกับขาของ RAM
กับ VGA CARD อุปกรณ์ที่ใช้ในการกำจัดคราบเหล่านี้ ก็คือ ยางลบหมึก และ สเปรย์คอนแท็กคลีนเนอร์
ที่นี้ ก่อนจะถูเพื่อทำความสะอาด มันก็ต้องถอดใช่ป่าว วิธีการถอด RAM ก็ดูที่ช่องใส่ครับ จะมีตัวล็อคหัวท้ายตามรูป ก็กดมันลงครับ ทั้งสองด้าน RAM ก็จะหลุดออกมา พอทำความสะอาดเสร็จ เราก็ใช้สเปรย์ฉีดเข้าไปที่ช่องใส่นะครับ ถอดออกมาจากตรงไหนก็ฉีดตรงนั้นแหละ เสร็จแล้วก็ใส่คืนไป เวลาใส่ก็สังเกตุด้วยว่า มันจะมีร่องเพื่อไม่ให้เราใส่ผิด เพราะใส่ผิดก็ไหม้สิครับ กดลงไปตรง ๆ ขาล็อคมันจะล็อคเอง เป็นอันเรียบร้อย
ส่วนการถอด VGA CARD ก็ไม่ยากครับ สิ่งที่ต้องระวังคือ มันจะมีล็อคอยู่ที่สล็อต เวลาจะถอดก็กดล็อคก่อนแล้วค่อย ๆ ดึงขี้นมาตรง ๆ หรือบางรุ่นอาจต้องง้างออก (รูปขวา) ก่อนดึงควรดูให้ดี ๆ ก่อนนะครับ และพอทำความสะอาดเสร็จก็ใส่เข้าไป ยึดน็อตให้เรียบร้อยก็เป็นอันใช้ได้ครับ
4. VGA CARD เสีย เวลามันเสีย มันแสดงออกได้ทั้งไม่ขึ้นภาพใด ๆ ภาพลาย หรือ ภาพเป็นสีอื่น ๆ นะครับ เช่นชมพู เขียว ฟ้า ถ้าพอมี VGA CARD ตัวอื่น ๆ ก็ลองเปลี่ยนดูครับ ถ้าไม่มีก็ต้องยกไปหาร้านละครับ
5. POWER SUPPLY เสีย ในที่นี้ก็คือ POWER SUPPLY จ่ายไฟไม่พอให้เครื่องทำงานครับ มักจะเป็นจาก POWER SUPPLY ที่เก่า ๆ อันนี้ถ้าจะเช็คด้วยตัวเอง ก็ลองเปลียนตัวใหม่ดูเท่านั้นเอง
6. MAINBOARD หรือ CPU เสีย ถ้าทำทุกอย่างตามข้อ 1. - 5. แล้วเครื่องยังเปิดไม่ติด ก็ยกไปให้ร้านเช็คจะง่ายที่สุด เพราะร้านจะมีอุปกรณ์ลองสับเปลี่ยนดูครับ
26 พฤษภาคม 2556
บทที่ 4 ว่าด้วยเรื่อง Error Messages
กลับมาแล้วครับ หลังจากห่างหายกันไปหลายวัน กลับมาต่อว่ากันด้วยเรื่องราวของการแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์ตามแบบฉบับลุงง๊องแง๊งครับ
วันนี้เรามาต่อกันด้วยเรื่องราวของ Error Messages นั่นก็คือเครื่องคอมเปิดติดเรียบร้อย มีภาพขึ้นเรียบร้อยแต่มันไปติดอยู่ตรงหน้าจอทีมีตัวหนังสือ ไม่ยอมเข้า WINDOWS ซักที
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกับ BIOS (ไบออส ) ของเครื่องคอมฯ กันเสียก่อน
BIOS (Basic Input/Output System) คือ ชุดโปรแกรมขนาดเล็ก ที่ถูกบรรจุไว้ในชิบเล็ก ๆ บนเมนบอร์ด ที่เรียกกันว่า ROM (Read Only Memory) หน้าที่สำคัญของไบออสนี้ คือ ทำหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น CPU RAM HDD เป็นต้น โดยในไบออสนั้นจะมีฟังค์ชั่นต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการเริ่มระบบหรือที่เรียกว่าการ Boot ดังนั้นหากว่าไบออสเสียหาย เราจะไม่สามารถเปิดเครื่องได้เลย
เวลาเราอยากจะดูการ POST ของไบออส วิธีง่าย ๆ ก็คือกดปุ่ม TAB บนคีย์บอร์ดครับ เพราะส่วนใหญ่ หน้าจอ POST จะถูกบังด้วยโลโก้ของเมนบอร์ดที่เราใช้อยู่ครับ แต่ถ้าใครเห็นหน้าจอแบบนี้แล้วก็ดีไป
หน้าจอ POST ของคอมพิวเตอร์ |
ปกติหน้าจอนี้จะใช้เวลาไม่กี่วินาทีก็จะเข้าสู่ ระบบปฏิบัติการหรือ WINDOWS ของเราปกติ เราถึงมักจะมองไม่ทัน ยกเว้นเวลามันหยุดแจ้งข้อความหรือ Error Massage ให้เราเห็น
ตามหน้าจอด้านบนนี้ เรามาทำความเข้าใจกันครับ
1. บอกถึงผู้ผลิตไบออส ในที่นี้คือ Phoenix
2. บอกยี่ห้อ / รุ่นของเมนบอร์ด และ Version ของไบออสที่ใช้ ในที่นี้คือ ASUS รุ่น A7N8X ไบออสรุ่น 1008
3. บอกว่าเราใช้ CPU รุ่นไหน ความเร็วเท่าไหร่ และมี RAM (Memory) อยู่เท่าไหร่ ในที่นี้คือ CPU Athlon XP 3000+ และมีเมมโมรี่อยู่ 1 GB.
4. บอกว่าเรามี HDD และ CD/DVD ต่ออยู่หรือไม่ ในที่นี้ก็คือ มี HDD 2 ตัว และ DVD 2 ตัว
5. ERROR MASSAGE (นี่แหละที่เราจะพูดถึงกันต่อไป)
6. เครื่องรอคำสั่งจากเราว่าจะทำอย่างไรต่อไป ในที่นี้คือถ้าจะเข้าหน้าจอตั้งค่าไบออส ให้กดปุ่ม DEL หรือถ้าจะผ่านไปโดยไม่สนใจก็กดปุ่ม F1
ถ้าเรากดปุ่ม DEL ก็จะเข้าไปสู่หน้าจอของการตั้งค่าไบออส
ตัวอย่างหน้าจอของ Bios |
เรื่อง Error Massage นี้ลุงขอแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มนะครับ
กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ไม่ได้มีผลกระทบกับระบบมากนัก เราสามารถกดปุ่ม F1 ให้ผ่านเลยได้ อันได้แก่
1.1 CMOS checksum error หรือ BIOS error หรืออะไรที่เกี่ยว ๆ กับ BIOS หรือ CMOS ซักอย่าง มักจะมาคู่กับข้อความฟ้องว่า Date/Time not set อาการนี้เกิดจากถ่านหมด วิธีแก้ก็เปลี่ยนถ่านซะ วิธีเปลี่ยนถ่านก็กลับไปดูบทที่ 1 นะครับ แล้วก็เข้าไปตั้งวันที่เวลาให้ตรง เป็นอันเสร็จ
แต่หากเราไม่ตั้งวันที่และเวลาให้เป็นปัจจุบัน จะมีผลกับโปรแกรมหรือเว็บไซด์ ที่อ้างอิงเวลาปัจจุบันบางเว็บไซด์ ทำให้เราใช้งานไม่ได้ครับ
1.2 Keyboard error หรือ Keyboard not present หรือ Keyboard Fail ทั้งหมดก็คือเครื่องไม่สามารถตรวจหาแป้นพิมพ์ได้ อาจเกิดจากถูกถอดออก เสียบไม่แน่น หรือเสีย หรือช่องเสียบเสีย ได้หมดครับ ลองถอดออกแล้วเสียบเข้าไปใหม่ แล้วกด F1 ถ้ายังใช้ไม่ได้ก็มีโอกาสที่แป้นพิมพ์จะเสีย หรือช่องเสียบจะเสียครับ
1.3 Floppy disk(s) fail (40) อาการนี้คือเครื่องตรวจหาช่องใส่ Floppy Disk ไม่พบ การแก้ไขต้องเข้าไปในโปรแกรมเซ็ตอัพไบออส ไปปิดส่วนของการตรวจหา Floppy Disk ตอน BOOT ซะ
1.4 CPU Fan Error เครื่องตรวจสอบพบว่าพัดลมระบายความร้อนของ CPU ไม่ทำงาน หรือทำงานผิดปกติ อาการนี้ควรเปิดดูข้างในเครื่องดูว่าพัดลมระบายความร้อนทำงานเป็นปกติดีหรือไม่ หากพบว่าพัดลมหมุนช้า หรือไม่หมุนเลย ก็ควรเปลี่ยนเสียนะครับ เพราะความร้อนที่เกิดขึ้นกับ CPU ที่ไม่มีการระบายความร้อนที่ดีจะทำให้เครื่องทำงานช้า หรืออาจทำให้ CPU เสียหายได้
1.5 Hardware Monitor found an error อาการนี้คือเครื่องแจ้งว่า Power Supply จ่ายไฟผิดปกติ อาจจะจ่ายต่ำ หรือสูงกว่าค่าปกติที่เมนบอร์ดรับได้ หรืออุณหภูมิของ CPU สูงผิดปกติ
กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ไม่ยอมเข้า Windows
2.1 NTLDR is missing อาการนี้คือไฟล์ที่จำเป็นในการ BOOT หายครับ แบกไปหาช่างดีที่สุด หรืออยากทำเอง ก็ลองดูครับตามนี้เลย วิธีแก้ NTLDR missing
2.2 BIOS ROM checksum error อาการนี้คือตัวโปรแกรมในไบออสมีปัญหาครับ มันพยายามที่จะซ่อมตัวมันเองโดยการให้เราเอาไฟล์ไบออสใส่เข้าไปใน Floppy Disk แล้วมันจะทำการโหลดไปซ่อมตัวมันเอง ส่วนใหญ่อาการนี้ลุงจะใช้เครื่องเขียนไบออสจัดการให้ ก็จะกลับไปใช้งานได้ปกติ
2.3 Disk boot failure หรือ Hard disk install failure หรือ Primary master hard disk fail
ถ้าเปิดคอมฯ มาแล้วเจออาการนี้ ก็สยองละครับ เครื่องมันฟ้องว่าหา Windows ไม่เจอ หรือหาระบบปฏิบัติการ (OS) ไม่เจอ ซึ่งระบบปฏิบัติการก็ต้องอยู่ใน HDD สิครับ ถ้ามันหาไม่เจอก็หมายความว่า หา HDD ไม่เจอ (แล้วงานฉัน รูปฉัน บัญชีฉัน คลิปฉัน หนังฉัน มันก็อยู่ใน HDD) แค่คิดก็สยองแล้ว
การตรวจสอบเบื้องต้น
- เมื่อเปิดคอมพิวเตอร์ให้เริ่มทำงาน ให้รีบกดปุ่ม Tab บนแป้นพิมพ์ เพื่อให้เราเห็นหน้าจอตามรูป
สังเกตุตรงข้อ 4 ซึ่งเป็นส่วนที่ไบออสทำการตรวจสอบ HDD และ CD Drive ถ้ามันหายไปเหลือแค่ CD Drive ก็มีโอกาสเป็นไปได้สูงว่า HDD อาจจะเสีย อาการที่ลุงมักจะพบเกี่ยวกับอาการ HDD เสียนี้ คือเครื่องจะค้างอยู่หน้าจอโพสค่อนข้างนาน (เพราะมันพยายามตรวจหา HDD)
- เปิดฝาเครื่อง ตรวจเช็คสายเชื่อมต่อระหว่างเมนบอร์ด กับ HDD นั่นก็คือสายไฟ กับสายสัญญาณ ดังรูปครับ
HDD แบบ S-ATA |
HDD แบบ IDE |
สิ่งที่เราต้องตรวจสอบคือ สายสัญญาณ หรือสายไฟ ที่เชื่อมต่อกับ HDD ของเรานั้น หลุด หรือหลวมหรือเปล่า และควรเช็คตามสายสัญญาณไปยังเมนบอร์ดด้วยว่าสายขาดหรือเปล่า หรือสายที่เชื่อมกับเมนบอร์ดหลุดหรือเปล่า เพราะลุงเคยเจอว่ามีหนูเข้าไปกัดสายสัญญาณขาดเหมือนกัน ทำให้เครื่องมองหา HDD ไม่เจอได้นะครับ ท่านใดที่ถอดสายสลับไปสลับมาได้ ก็ลองดูครับ เสียบกลับคืนให้ถูกก็แล้วกัน บางทีลุงก็เคยเจอสายสัญญาณเสียเหมือนกัน
- ถ้าสายสัญญาณ และสายไฟ เป็นปกติ ลองจับตัว HDD ดูให้สังเกตุว่ามันหมุนหรือเปล่า หรือมีเสียง แต๊ก ๆ ดังออกมาจาก HDD หรือเปล่า ถ้าไม่หมุน หรือมีเสียงแต๊ก ๆ ก็เตรียมทำใจได้ครับ
- ลองเปลี่ยน Power supply สำหรับท่านที่ทำได้ เพราะบางครั้ง Power supply อาจจ่ายไฟไม่เพียงพอให้ HDD ทำงานได้เหมือนกันสำหรับ Power supply ที่ใช้งานมานาน
ถ้าตรวจเช็คเบื้องต้นแล้วยังไม่สำเร็จก็ทำใจ และแบกไปให้ช่างเช็คดูอีกครั้ง แบบมีความหวังไว้สัก 1% ก็พอครับ
บทที่ 5 ว่าด้วยเรื่อง ไม่ยอมเข้า WINDOWS รีสตาร์ทตลอดเวลา
หลังจากผ่าน Error Massage มาได้แล้ว คราวนี้เราก็มารู้จักกับปัญหาต่อไปที่มักจะเกิดขึ้น นั่นก็คือ เครื่องรีสตารทเอง ไม่ยอมบูทเข้า Windows
สาเหตุของอาการนี้มีหลากหลายมาก การที่จะฟันธงลงไปเลยค่อนข้างที่จะยาก เราจึงต้องแยกให้ออกก่อนว่าเกี่ยวกับอุปกรณ์เสีย หรือ เกิดจาก Windows มีปัญหา
การที่เราจะตรวจเช็คเบื้องต้นเองนั้น ลุงแนะนำให้หาตัวช่วย ในที่นี้ ลุงขอแนะนำโปรแกรมสารพัดประโยชน์ตัวหนึ่ง เรียกกันว่า Hiren's BootCD ลุงทำ Link ไว้ให้โหลดแล้ว ลองหาดู ทางด้านขวานะครับ
โปรแกรมตัวนี้ช่วยเราได้อย่างไร ???
ในแผ่น Hiren's Boot จะมี MINI Windows XP ( ถ้ารุ่นใหม่ๆ จะมี Windows 7 ) ซึ่งสามารถทำงานได้จากแผ่นโปรแกรมเลยโดยที่ไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับ HDD ( หมายความว่าแม้เครื่องคอมไม่มี HDD ก็สามารถเข้า Windows ได้ ) ให้ทดลองใช้แผ่นนี้ บูตเข้า Windows ดู ( เลือกเมนูที่มีลูกศรสีแดง ตามภาพด้านล่าง ) ว่าสามารถเข้าไปใช้งาน Windows ได้หรือไม่ ถ้าหากเข้า Windows ได้โอกาสที่อุปกรณ์อื่น ๆ จะเสียนั้นน้อยมาก ทำให้เรามุ่งประเด็นไปที่ Windows ที่อยู่ใน HDD ได้ง่ายขึ้น แต่หากบูตด้วย Hiren's Boot แล้วยังไม่สามารถเข้าสู่หน้าจอ Windows ได้ แสดงว่ามีอุปกรณ์อื่นเสียเช่น RAM เป็นต้น
เลือกเมนูที่มีลูกศรสีแดง แล้วรอจนกว่าจะเข้า WINDOWS (รูปล่าง) |
หน้าตาของ MINI WINDOWS ของแผ่น HIREN'S BOOT |
1. ในกรณีที่เข้า Windows
เราจะมุ่งประเด็นไปที่ Windows ใน HDD เป็นหลัก ซึ่งอาการที่มักพบบ่อย ๆ ได้แก่
1.1 Patition หาย
1.2 HDD มี Bad Sector
1.3 ระบบ Windows เสีย อาจเกิดจากไวรัส
2. ในกรณีที่แม้จะใช้ Windows ที่บูทจากแผ่น Hiren's Boot แล้ว ก็ยังไม่เข้า Windows
กรณีนี้อาจมีอุปกรณ์อื่นเสีย
24 พฤษภาคม 2556
บทที่ 6 ฮารด์ดิสก์หายไป ใครขโมยมันไป แล้วข้อมูลฉันจะทำอย่างไร #ร้องไห้หนักมาก#
ย้อนกลับไปบทที่ 4 เกี่ยวกับเรื่อง HDD เสีย มีคนถามมาบ่อยมาก ว่า "ฮาร์ดดิสก์ทำไมเสีย" "เสียได้ด้วยหรือ" ก็อยากจะบอกว่ามีอะไรที่มันไม่เสียบ้างล่ะจ๊ะ
ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยระบบอิเลคทรอนิค และระบบกลไก หลักๆ ก็คือแผงวงจร กับส่วนที่เป็นหัวอ่านกับจานหมุน ซึ่งถ้าหากเราแกะดูภายใน HDD เราก็จะเจอส่วนประกอบดังรูป คล้าย ๆ เครื่องเล่นจานแผ่นเสียงสมัยก่อนเลย
อาการเสียของ HDD ที่มักจะเจอะเจอ ก็คือ
- คอมมองไม่เห็น HDD แบบว่าเปิดคอมขึ้นมาแล้วมันขึ้นจอดำ ๆ แล้วบอกเราว่า "Non System Disk or Disk Error" หรือ "Please Insert System Disk" อะไรประมาณเนี้ยะแหละ
- คอมมองเห็นแต่อ่านไม่ได้ อาการแบบนี้คือมันจะฟ้อง "Disk Read Error" แล้วก็ค้างไปเลย
- มี ฺBAD SECTOR อาการนี้คือ คอมจะรีสตาร์ทตลอด (อันนี้เกิดจากสาเหตุอื่นได้ด้วย อย่าด่วนร้องไห้ร้องห่มว่า HDD เสีย)
- ค้าง มีเสียงดังข้างใน แกร๊กๆ แกรกๆ ติ๊กๆ แล้วมันจะค้างอยู่หน้าจอโพสนั่นแหละ รอไปเหอะ
- อ่านสะดุด อาการนี้จะรู้สึกได้ว่าเครื่องมันช้าลงมากๆ ยิ่งเวลาเล่นเกมส์นะ ที่เคยรื่นปรุ๊ดปร๊าด มันจะหนืดๆ หน่วงๆ ถ่วงๆ ยังไงไม่รู้แหละ
- ฯลฯ (เดี๋ยวนึกออกจะมาเพิ่มให้)
***** ข้อสังเกตุอาการเสียของ HDD ให้ดูไฟสีแดงที่ด้านหน้าเคสครับ ปกติมันจะกระพริบๆ แต่ถ้ามันแดงอยู่อย่างนั้นเตรียมตัวได้ โอกาส HDD เสียเยอะ *****
แล้วแก้ได้หรือไม่??
ก็สามารถแก้ไขได้ในบางกรณีครับ เช่น กรณีมี BAD SECTOR ก็มีโปรแกรมช่วยแก้ไขได้
หรือหากแก้ไขไม่ได้ ในบางกรณีเราก็สามารถตัดส่วนที่ BAD ออก แล้วลงโปรแกรมในส่วนที่ยังดี
อยู่ ให้สามารถใช้งานไปก่อนชั่วคราวได้
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อ HDD เสีย หรือใกล้จะเสีย เราก็ไม่ควรใช้งานต่อไป เพราะการเก็บ
มูลสำคัญของเราไว้กับ HDD ที่ใกล้จะเสียนั้น มีความเสี่ยงที่จะสูญหายมากๆ และปัจจุบันราคา
ของ HDD ก็ไม่ได้ถือว่าแพงเลย ถ้าเทียบกับสมัยก่อน ดังนั้น...เปลี่ยนเถอะครับ จะได้ไม่เป็นภาระ ลูกหลาน
แล้วข้อมูลล่ะ รูป เพลง หนัง หนังโป๊ เอกสารสำคัญ ข้อมูลบัญชี ฯลฯ จะทำอย่างไร
ทำใจสิครับ บางกรณีช่างพื้นๆ ก็สามารถกู้ออกมาได้ ค่าใช้จ่ายไม่แพง หลักร้อยถึงหลักพัน แต่ในบางกรณีต้องใช้เครื่องมือ ใช้อุปกรณ์เฉพาะ ถ้าเงินถึงก็กู้ออกมาได้ ลองติดต่อไปตามลิงค์ ด้านข้างคับ
สาเหตุที่ทำให้ HDD เสียเร็ว
1. ไฟกระชาก ไฟดับ ไฟตก บ่อยๆ
ปัญหานี่น่าจะเป็นปัญหาหลักๆ ที่ทำให้ HDD เสียเร็วที่สุด บางที่การลงทุนซื้อ UPS สักตัว จะช่วยลดปัญหาลงไปได้มากทีเดียว
2. ปิดคอมโดยไม่ SHUTDOWN ตามขั้นตอน
การปิดเครื่องโดยการ SHUTDOWN นั้น HDD จะมีระบบเอาหัวอ่านไปเก็บที่ เรียกว่าระบบ ควบคุมหัวอ่าน ( PARKING ) เป็นการป้องกันหัวอ่าน หากเราปิดสวิตซ์ไฟเลย อาจจะสร้างความ เสียหายแก่หัวอ่านได้
3. ใช้ POWER SUPPLY คุณภาพต่ำ
POWER SUPPLY คุณภาพต่ำ การจ่ายกระแสไฟให้อุปกรณ์จะค่อนข้างไม่คงที่ และไม่ สม่ำเสมอ ซึ่งแน่นอนว่านอกจากอาจจะสร้างความเสียหายให้ HDD แล้ว ยังอาจจะสร้างความเสีย หายให้กับอุปกรณ์อื่นๆ ในคอมพิวเตอร์ของเราได้ด้วย
4. การเลือกใช้ HDD ราคาถูก คุณภาพต่ำ หรือไม่เหมาะสมกับงาน
SSD (Solid State Drive) ทางเลือกใหม่ที่จะมาแทน HDD
ในปัจจุบัน มีอุปกรณ์สำหรับบันทึกข้อมูลแบบใหม่ที่จะมาทำหน้าที่แทน HDD แบบจานหมุน นั่นก็คือ
SSD
HDD แบบเก่าที่เราใช้กันมาตั้งแต่อดีตนั้นใช้ระบบจานหมุนมาตลอด ถึงแม้ว่าจะพัฒนาความจุมาตลอดเวลา (ถ้าจำไม่ผิดคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของลุง ใช้ HDD 420 MB หรือประมาณครึ่ง GB คือยังไม่ถึง 1 GB อ่ะ น้อยกว่าแฟลชไดรฟ์อีก จนปัจจุบันความจุ HDD รุ่นใหม่ก็ปาเข้าไป 4,000 GB (4TB) ก็มีแล้ว) แต่ HDD ก็ยังคงใช้ระบบจานหมุนเหมือนเดิม
แต่สำหรับ SSD นั้นจะใช้ CHIP ในการบันทึกข้อมูลแทน นั่นทำให้
- SSD มีอัตราการอ่านและเขียนข้อมูลที่สูงมาก สูงกว่า HDD แบบจานหมุนประมาณ 2.5 - 3 เท่าตัวเลยที่เดียว SSD รุ่นใหม่ๆ สามารถอ่านเขียนได้ด้วยความเร็วมากกว่า 500 MB ต่อ วินาที ซึ่งเร็วกว่า HDD แบบจานหมุนถึง 10 เท่าเลยทีเดียว
- กินไฟน้อย ไม่มีเสียงดังรบกวน เนื่องจากไม่ต้องมาระบบการหมุนจานแม่เหล็ก และการขยับหัวอ่าน
- สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทันที ไม่ต้องรอหัวอ่านกับจานหมุนมาเจอกัน
- น้ำหนักเบา แต่ทนทานต่อแรงกระแทกมากว่า
- ความร้อนต่ำ เพราะไม่ต้องมีการหมุนจานแม่เหล็ก
- อายุการใช้งานนานกว่า
รูปด้านล่างเป็นการเปรียบเทียบประสิทธิ์ภาพการทำงานระหว่าง SSD กับ HDD
เปรียบเทียบประสิทธิภาพ SSD กับ HDD |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)