26 พฤษภาคม 2556

บทที่ 4 ว่าด้วยเรื่อง Error Messages




          กลับมาแล้วครับ หลังจากห่างหายกันไปหลายวัน กลับมาต่อว่ากันด้วยเรื่องราวของการแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์ตามแบบฉบับลุงง๊องแง๊งครับ

          วันนี้เรามาต่อกันด้วยเรื่องราวของ Error Messages นั่นก็คือเครื่องคอมเปิดติดเรียบร้อย มีภาพขึ้นเรียบร้อยแต่มันไปติดอยู่ตรงหน้าจอทีมีตัวหนังสือ ไม่ยอมเข้า WINDOWS ซักที

          ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกับ BIOS (ไบออส ) ของเครื่องคอมฯ กันเสียก่อน

          BIOS (Basic Input/Output System) คือ ชุดโปรแกรมขนาดเล็ก ที่ถูกบรรจุไว้ในชิบเล็ก ๆ บนเมนบอร์ด ที่เรียกกันว่า ROM (Read Only Memory) หน้าที่สำคัญของไบออสนี้ คือ ทำหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น CPU RAM HDD เป็นต้น โดยในไบออสนั้นจะมีฟังค์ชั่นต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการเริ่มระบบหรือที่เรียกว่าการ Boot  ดังนั้นหากว่าไบออสเสียหาย เราจะไม่สามารถเปิดเครื่องได้เลย




          เมื่อเราเปิดคอมพิวเตอร์ ไบออสจะเริ่มทำงานทันที่ โดยจะทำการตรวจเช็คว่า มี CPU RAM VGA หรือ HDD FDD หรือ CD-ROM เชื่อมต่ออยู่หรือไม่ และหากมีอุปกรณ์ตัวใดทำงานผิดพลาด ไบออสจะแจ้งให้เราทราบเบื้องต้น เป็นสัญญาณเสียง หรือเป็นข้อความทางหน้าจอ ขั้นตอนที่เกิดขึ้นเหล่านี้เราจะเรียกรวม ๆ ว่าขั้นตอนการ POST ของเมนบอร์ด

          เวลาเราอยากจะดูการ POST ของไบออส วิธีง่าย ๆ ก็คือกดปุ่ม TAB บนคีย์บอร์ดครับ เพราะส่วนใหญ่ หน้าจอ POST จะถูกบังด้วยโลโก้ของเมนบอร์ดที่เราใช้อยู่ครับ แต่ถ้าใครเห็นหน้าจอแบบนี้แล้วก็ดีไป

หน้าจอ POST ของคอมพิวเตอร์

          ปกติหน้าจอนี้จะใช้เวลาไม่กี่วินาทีก็จะเข้าสู่ ระบบปฏิบัติการหรือ WINDOWS ของเราปกติ เราถึงมักจะมองไม่ทัน ยกเว้นเวลามันหยุดแจ้งข้อความหรือ Error Massage ให้เราเห็น

เวลา POST คอมพิวเตอร์บอกอะไรให้เราทราบบ้าง

          ตามหน้าจอด้านบนนี้ เรามาทำความเข้าใจกันครับ

          1. บอกถึงผู้ผลิตไบออส ในที่นี้คือ Phoenix

          2. บอกยี่ห้อ / รุ่นของเมนบอร์ด และ Version ของไบออสที่ใช้ ในที่นี้คือ ASUS รุ่น A7N8X ไบออสรุ่น 1008

          3. บอกว่าเราใช้ CPU รุ่นไหน ความเร็วเท่าไหร่ และมี RAM (Memory) อยู่เท่าไหร่ ในที่นี้คือ CPU Athlon XP 3000+   และมีเมมโมรี่อยู่ 1 GB.

          4. บอกว่าเรามี HDD และ CD/DVD ต่ออยู่หรือไม่ ในที่นี้ก็คือ มี HDD 2 ตัว และ DVD 2 ตัว

          5. ERROR MASSAGE (นี่แหละที่เราจะพูดถึงกันต่อไป)

          6. เครื่องรอคำสั่งจากเราว่าจะทำอย่างไรต่อไป ในที่นี้คือถ้าจะเข้าหน้าจอตั้งค่าไบออส ให้กดปุ่ม DEL หรือถ้าจะผ่านไปโดยไม่สนใจก็กดปุ่ม F1


          ถ้าเรากดปุ่ม DEL ก็จะเข้าไปสู่หน้าจอของการตั้งค่าไบออส



ตัวอย่างหน้าจอของ Bios

          เอาละเป็นอันว่าเข้าใจกันเบื้องต้นนะครับ เรื่องของไบออส ต่อไปเรามาดูว่า Error Massage ที่เรามักจะเจอกันบ่อย ๆ ก็อะไรบ้าง

         เรื่อง Error Massage นี้ลุงขอแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มนะครับ

   
          กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ไม่ได้มีผลกระทบกับระบบมากนัก เราสามารถกดปุ่ม F1 ให้ผ่านเลยได้ อันได้แก่




                 1.1 CMOS checksum error หรือ BIOS error หรืออะไรที่เกี่ยว ๆ กับ BIOS หรือ CMOS ซักอย่าง มักจะมาคู่กับข้อความฟ้องว่า Date/Time not set  อาการนี้เกิดจากถ่านหมด  วิธีแก้ก็เปลี่ยนถ่านซะ วิธีเปลี่ยนถ่านก็กลับไปดูบทที่ 1 นะครับ  แล้วก็เข้าไปตั้งวันที่เวลาให้ตรง เป็นอันเสร็จ




                แต่หากเราไม่ตั้งวันที่และเวลาให้เป็นปัจจุบัน จะมีผลกับโปรแกรมหรือเว็บไซด์ ที่อ้างอิงเวลาปัจจุบันบางเว็บไซด์ ทำให้เราใช้งานไม่ได้ครับ

                1.2 Keyboard error หรือ Keyboard not present หรือ Keyboard Fail  ทั้งหมดก็คือเครื่องไม่สามารถตรวจหาแป้นพิมพ์ได้  อาจเกิดจากถูกถอดออก เสียบไม่แน่น หรือเสีย หรือช่องเสียบเสีย ได้หมดครับ ลองถอดออกแล้วเสียบเข้าไปใหม่ แล้วกด F1 ถ้ายังใช้ไม่ได้ก็มีโอกาสที่แป้นพิมพ์จะเสีย หรือช่องเสียบจะเสียครับ



                1.3 Floppy disk(s) fail (40) อาการนี้คือเครื่องตรวจหาช่องใส่ Floppy Disk ไม่พบ การแก้ไขต้องเข้าไปในโปรแกรมเซ็ตอัพไบออส ไปปิดส่วนของการตรวจหา Floppy Disk ตอน BOOT ซะ

                1.4 CPU Fan Error  เครื่องตรวจสอบพบว่าพัดลมระบายความร้อนของ CPU ไม่ทำงาน หรือทำงานผิดปกติ  อาการนี้ควรเปิดดูข้างในเครื่องดูว่าพัดลมระบายความร้อนทำงานเป็นปกติดีหรือไม่ หากพบว่าพัดลมหมุนช้า หรือไม่หมุนเลย ก็ควรเปลี่ยนเสียนะครับ เพราะความร้อนที่เกิดขึ้นกับ CPU ที่ไม่มีการระบายความร้อนที่ดีจะทำให้เครื่องทำงานช้า หรืออาจทำให้ CPU เสียหายได้




                1.5 Hardware Monitor found an error อาการนี้คือเครื่องแจ้งว่า Power Supply จ่ายไฟผิดปกติ อาจจะจ่ายต่ำ หรือสูงกว่าค่าปกติที่เมนบอร์ดรับได้ หรืออุณหภูมิของ CPU สูงผิดปกติ

     


          กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ไม่ยอมเข้า Windows





                2.1 NTLDR is missing อาการนี้คือไฟล์ที่จำเป็นในการ BOOT หายครับ แบกไปหาช่างดีที่สุด หรืออยากทำเอง ก็ลองดูครับตามนี้เลย วิธีแก้ NTLDR missing 





                2.2 BIOS ROM checksum error อาการนี้คือตัวโปรแกรมในไบออสมีปัญหาครับ มันพยายามที่จะซ่อมตัวมันเองโดยการให้เราเอาไฟล์ไบออสใส่เข้าไปใน Floppy Disk แล้วมันจะทำการโหลดไปซ่อมตัวมันเอง ส่วนใหญ่อาการนี้ลุงจะใช้เครื่องเขียนไบออสจัดการให้ ก็จะกลับไปใช้งานได้ปกติ





                2.3 Disk boot failure หรือ Hard disk install failure หรือ Primary master hard disk fail 
             
                ถ้าเปิดคอมฯ มาแล้วเจออาการนี้ ก็สยองละครับ เครื่องมันฟ้องว่าหา Windows ไม่เจอ หรือหาระบบปฏิบัติการ (OS) ไม่เจอ ซึ่งระบบปฏิบัติการก็ต้องอยู่ใน HDD สิครับ ถ้ามันหาไม่เจอก็หมายความว่า หา HDD ไม่เจอ  (แล้วงานฉัน รูปฉัน บัญชีฉัน คลิปฉัน หนังฉัน มันก็อยู่ใน HDD) แค่คิดก็สยองแล้ว 

                การตรวจสอบเบื้องต้น 

                - เมื่อเปิดคอมพิวเตอร์ให้เริ่มทำงาน ให้รีบกดปุ่ม Tab บนแป้นพิมพ์ เพื่อให้เราเห็นหน้าจอตามรูป





               สังเกตุตรงข้อ 4 ซึ่งเป็นส่วนที่ไบออสทำการตรวจสอบ HDD และ CD Drive ถ้ามันหายไปเหลือแค่ CD Drive ก็มีโอกาสเป็นไปได้สูงว่า HDD อาจจะเสีย อาการที่ลุงมักจะพบเกี่ยวกับอาการ HDD เสียนี้ คือเครื่องจะค้างอยู่หน้าจอโพสค่อนข้างนาน (เพราะมันพยายามตรวจหา HDD) 

               - เปิดฝาเครื่อง ตรวจเช็คสายเชื่อมต่อระหว่างเมนบอร์ด กับ HDD นั่นก็คือสายไฟ กับสายสัญญาณ ดังรูปครับ


HDD แบบ S-ATA
HDD แบบ IDE

               สิ่งที่เราต้องตรวจสอบคือ สายสัญญาณ หรือสายไฟ ที่เชื่อมต่อกับ HDD ของเรานั้น หลุด หรือหลวมหรือเปล่า และควรเช็คตามสายสัญญาณไปยังเมนบอร์ดด้วยว่าสายขาดหรือเปล่า หรือสายที่เชื่อมกับเมนบอร์ดหลุดหรือเปล่า  เพราะลุงเคยเจอว่ามีหนูเข้าไปกัดสายสัญญาณขาดเหมือนกัน  ทำให้เครื่องมองหา HDD ไม่เจอได้นะครับ ท่านใดที่ถอดสายสลับไปสลับมาได้ ก็ลองดูครับ เสียบกลับคืนให้ถูกก็แล้วกัน บางทีลุงก็เคยเจอสายสัญญาณเสียเหมือนกัน

               - ถ้าสายสัญญาณ และสายไฟ เป็นปกติ ลองจับตัว HDD ดูให้สังเกตุว่ามันหมุนหรือเปล่า หรือมีเสียง แต๊ก ๆ ดังออกมาจาก HDD หรือเปล่า ถ้าไม่หมุน หรือมีเสียงแต๊ก ๆ ก็เตรียมทำใจได้ครับ

               - ลองเปลี่ยน Power supply สำหรับท่านที่ทำได้ เพราะบางครั้ง Power supply อาจจ่ายไฟไม่เพียงพอให้ HDD ทำงานได้เหมือนกันสำหรับ Power supply ที่ใช้งานมานาน

               ถ้าตรวจเช็คเบื้องต้นแล้วยังไม่สำเร็จก็ทำใจ และแบกไปให้ช่างเช็คดูอีกครั้ง แบบมีความหวังไว้สัก 1% ก็พอครับ



16 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. 2.2 BIOS ROM checksum error อาการนี้คือตัวโปรแกรมในไบออสมีปัญหาครับ มันพยายามที่จะซ่อมตัวมันเองโดยการให้เราเอาไฟล์ไบออสใส่เข้าไปใน Floppy Disk แล้วมันจะทำการโหลดไปซ่อมตัวมันเอง ส่วนใหญ่อาการนี้ลุงจะใช้เครื่องเขียนไบออสจัดการให้ ก็จะกลับไปใช้งานได้ปกติ


    แล้วเราจะหาไฟล์ไบออสได้จากที่ได ครับ อาการเหมือนแบบนี้เปะเลย (ตามรูป) เปิดเครื่องมาก็เป็นแบบนี้เลย ไม่เข้าไบออสครับ
    ช่วยด้วยครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. file bios หา download ได้จากเวปไซด์ของเมนบอรดนั้นๆ ครับ ขอโทษคับ ไม่ได้เข้าบล็อกนานมาก

      ลบ
    2. อยากเห็นขั้นตอนสัก 1 ตัวอย่างได้ไหมครับ ผมเจอเหมือนกัน แบบนี้
      อยากเห็นการนำไฟล์ bios ที่โหลดใหม่มาใช้ยังไง เพราะคอมฯเปิดไม่ได้ ขึ้นแต่คำนี้อยู่อย่างนั้น

      ลบ
  3. ดิสบูตล้มเหลว แทรกระบบดิสก์และกดปุ่มตกลง
    มันเป็นอะไรครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. มันหาระบบปฏิบัติการไมาเจอครับ

      ลบ
  4. bios error aplication 501 ขอคำชี้แนะหน่อยครับลุง

    ตอบลบ
  5. bios error aplication 501 ขอคำชี้แนะหน่อยครับลุง

    ตอบลบ
  6. ไฟไม่เข้าแป้นพิมพ์ กดอะไรไม่ได้เลย
    สาเหตุ เกิดจากอะไรครังลุง แป้นคีย์ลอง
    เครื่องอื่นใช้ได้นะ

    ตอบลบ
  7. ช่วยหน่อยครับ หรือช่องเสียบเสีย
    ขอบคุณครับ ชีแนะด้วยลุง

    ตอบลบ
  8. ช่วยหน่อยครับ หรือช่องเสียบเสีย
    ขอบคุณครับ ชีแนะด้วยลุง

    ตอบลบ
  9. ตอบด้วยนะลุงรออ่านครับ

    ตอบลบ
  10. ต้องขอโทษทุกท่านด้วย ไม่ได้เข้ามานานมาก ยังไงไปตามในเฟสนะ

    ตอบลบ